หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567

ชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ชื่อภาษาอังกฤษ Bachelor of Science Program in Occupational Health and Safety

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อภาษาไทย ชื่อเต็ม วิทยาศาสตรบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
ชื่อย่อ วท.บ. (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
ชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม Bachelor of Science (Occupational Health and Safety)
ชื่อย่อ B.Sc. (Occupational Health and Safety)

จำนวนหน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า   178  หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป   จำนวนไม่น้อยกว่า     30 หน่วยกิต
 
  • กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไป
  • กลุ่มวิชาภาษา
  • กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปแบบเลือก
10
15
5
หน่วยกิต
หน่วยกิต
หน่วยกิต
   2. หมวดวิชาเฉพาะ 131 หน่วยกิต
 
  • กลุ่มวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
  • กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • กลุ่มวิชาชีพเฉพาะสาขา
33
29
69
หน่วยกิต
หน่วยกิต
หน่วยกิต
   3. หมวดวิชาสหกิจศึกษา 9 หน่วยกิต
 
  • เตรียมสหกิจศึกษาบูรณาการกับการทำงาน
  • สหกิจศึกษา 1 หรือ วิชาทดแทนสหกิจศึกษา 1 
1
8
หน่วยกิต
หน่วยกิต
4. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวนไม่น้อยกว่า     8 หน่วยกิต

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs)

PLO1 อธิบายความรู้พื้นฐานของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
PLO2 อธิบายองค์ความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
PLO3 ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานประกอบการได้
PLO4 วางแผนและพัฒนาโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน หรือการสร้างนวัตกรรม
PLO5 สื่อสารและนำเสนอข้อมูลให้ผู้อื่นเข้าใจได้
PLO6 ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง วิเคราะห์ และแปลผลข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
PLO7 รับผิดชอบต่อตนเอง สังคม งานที่ได้รับมอบหมาย และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

วิชาชีพที่สามารถปฏิบัติงานได้หลังสำเร็จการศึกษา

  •  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
  • นักวิชาการสาธารณสุข
  • นักวิทยาศาสตร์ด้านอาชีวอนามยัและความปลอดภัย
  • นักวิชาการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย/การควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ
  • ผู้ตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการ
  • ที่ปรึกษาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • นักวิเคราะห์และประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
  • นักตรวจวิเคราะห์มลพิษ คุณภาพสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมในสถานประกอบการ/พนักงานในบริษัทที่ปรึกษาและตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • พนักงานราชการ พนักงานตรวจความปลอดภัย
  • อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม

Comments are closed.